Techno

ในขณะที่เฮ้าส์เป็นดนตรีที่ลื่นไหลเนี้ยบสวยงาม ดนตรีเทคโนจะรุนแรงและดุดันกว่า เทคโนถูกออกแบบมาให้กลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะ นี่คือดนตรีอีเลคโทรนิคอย่างแท้จริง ซาวน์ดจะออกเป็นเครื่องจักร ดิบแระกระด้างมากกว่า 
เสียงประกอบยังขโมยมาจากเสียงจักรกลรอบตัว ตั้งแต่เสียงไซเรนจนถึงคำพูดจากในภาพยนตร์ 
ความเร็วของบีทจะเร็วกว่าเฮ้าส์ปกติที่ 126-130 ซึ่งเวลาแตกแขนงแนวออกไป จะมีบีทที่เริ่มจากศูนย์
จนไปถึง 140 ของแทรนซ์ และ 220 หรือมากกว่าในดนตรีฮาร์ดคอร์ เทคโนเริ่มจากการเป็นดนตรีใต้ดิน 
แต่ไปเกิดในอังกฤษ และขยายวงกว้าง 
Classic Techno : Aphex Twin, Dave Clarke, Darren Price, Silent Phase, Kenny Larkin, Plastikman, B-12 

DETROIT TECHNO 
ต้นแบบของเทคโนมาจากเมืองดีทรอยซ์ เมืองแห่งอุตสาหกรรมทางตอนเหนืออันหนาวเหน็บไร้ชีวิตชีวาของอเมริกา ดีทรอยท์ให้กำเนิดดนตรีพี-ฟั้งค์ และเป็นบ้านของค่ายโมทาวน์มาก่อน 
เทคโนเกิดจากการเอาส่วนย่อยของฟั้งค์ มารวมกับดนตรีสังเคราะห์จากยุโรป (บรรดาวงอย่าง Kraftwerk, Depeche Mode, Cabaret Volaire) โดยเน้นที่การสร้างจังหวะที่ ‘ไม่มีชีวิต’ 
แต่ให้ความรู้สึกที่หยาบและรุนแรง สมชื่อ 
Classic Detroit Techno : Juan Atkins, Derrick May, Kevin Saunderson, Rhythm Is Rhythm, Model 500, Drexciya, Jeff mills, Stacey Pullen 

HAPPY HARDCORE 
เทคโนที่แรงขึ้นไปอีก ฟังดูวุ่นวายพลุกพล่าน อึกทึก โวยวาย เหมือนเป็นการเต้นรำของคนบ้าภายใต้บีทที่เร็วถึง 180-190 ต่อนาที เสียงซินธ์กับเปียโนจะเร็ว เสียงร้องก็ถูกปรับจนเร็วเหมือนตัวซิพมังค์ เหมาะกับเด็กวัยรุ่นเมายาจนไม่รู้สึกตัว เนื้อหาจะวนเวียนกับเรื่องของยา เซ็กซ์ ความสุข เจียนบ้า 
ดังมากในสก็อทแลนด์ และถูกมองว่าไม่มีคุณค่าทางดนตรี
Classic Happy Hardcore : Hixxy & Sharkey, Slipmatt, Force & Styles, DJ Eruption 

GABBA 
แรงขึ้นไปกว่าแฮ็ปปี้ฮาร์ดคอร์ จนเกือบจะเข้าสู่โลกของดาร์คคอร์ ซึ่งจะขยายตัวเป็นจังเกิ้ลต่อมา ดนตรีแก็บบา (มาจากภาษาดัชท์แปลว่าเพื่อน) จังหวะจะเร่งแรงขึ้นเป็น 200-400 บีทต่อนาที เกิดมาจากงานเรฟในร็อทเทอร์ดัมที่เนเธอร์แลนด์ และข้ามมาถล่มที่สก็อทแลนด์ด้วย เนื้อร้องจะว่าด้วยความรุนแรงมากขึ้น
แต่หนีไม่พ้นยา เซ็กซ์ และสงคราม 
Classic Gabba : Technohead, PCP, GTO, Ultraviloence, The Horrorists, Rotterdam Terror Corps 

TRANCE 
แนวดนตรีเต้นรำที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างที่สุด เสียงจะลอยล่องชวนฝัน เหมือนจะดึงคนฟังกับนักเต้นให้อยู่ในภวังค์ตามชื่อ จังหวะจะตีวนไปวนมา และค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ พอถึงจุดสุดยอด ก็จะอัดลงมากระแทกกระทั้น ซึ่งสมบูรณ์แบบมากสำหรับการเต้นรำ เพราะพอถึงจุดไคลแมกซ์นักเต้นจะกระโดดขึ้น 
และชูมือเหนือหัวพร้อม ๆ กัน 
เริ่มต้นมาจากในเยอรมัน ช่วงต้นยุค 90 ผ่านเสียงแรง ๆ จากเบลเยี่ยม จนมาเกิดใหม่ในอังกฤษช่วงปลายทศวรรษ เมื่อมีการเติมจังหวะเบรคบีทเข้าไป (จนเรยกกลาง ๆ ว่า โพรเกราซีฟแทรนซ์) และแต่งให้พ็อพขึ้น 
แทรนซ์เป็นดนตรีที่เล่นกันตามคลับในอังกฤษมากที่สุด 
Classic Trance : Joey Beltram, CJ Bolland, Jam & Spoon, Paul Oakenfold, Danny Rampling, Sasha & Digweed, Judge Jules, Paul Van Dyk, Seb Fontaine, Tony De Vit 

GOA TRANCE 
ได้ชื่อมาจากแคว้นหนึ่งตามชายฝั่งทางใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นสวรรค์เสพยาของบรรดาผู้แสวงหามาหลายปี ดนตรีเป็นแทรนซ์แต่ว่ายาที่ใช้หลอนประสาทกว่า (แอลเอสดี) ยิ่งได้ผสมผสานกัลกลิ่นกำยานและวัฒนธรรมของอินเดียอย่างส่าหรี/ชิทาร์เข้าไปอีก ความมึนเมาก็ทวีคูณขึ้นเป็นสิบเท่า 
ดนตรีแนวนี้แทบไม่ปรากฎในวิทยุ แต่ดังในคลับ กระนั้นก็ถูกมองว่าเป็นดนตรีของฮิพพี่ย์ยุคดิจิทอลแทน 
Classic Gea : Eat Static, Man With No Name, Dragonfly (ตราแผ่นเสียง), Return To The Source 

IDM 
ย่อมาจาก Intelligent Dance Music พัฒนามาจากอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะตราแผ่นเสียงอย่างวาร์พ ที่ทำดนตรีเทคโนที่เหมาะกับการนั่งฟังพินิจพิจารณา มากกว่าออกไปเต้น เพราะไม่มีจังหวะช่วงเร่งเร้าอารมณ์นัก ตัวดนตรีจะซับซ้อนและเต็มไปด้วยรายละเอียดมากกว่าจนเป็นที่ฌปรดปรานของนักวิจารณ์ 
ในยุคแรก ๆ เพลงเหล่านี้บรรจุไว้ในห้องซิลล์เอ๊าท์ สำหรับลดดีกรีของยาอี ดนตรีจะพัฒนาและมีการลองผิดลองถูกอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในปัจจุบันที่ยังคงมีรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างแนวลิทช์ หรือคลิคส์แอนด์คัทส์ที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์สมัยใหม่เข้าช่วยสร้างเสียงของการตัดแปะที่ปราศจาเราปแบบที่เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ งานเหล่านี้ได้รับความนิยมในเยอรมัน อังกฤษ และซานฟรานซิสโก ซึ่งจะมีผลงานออกมาอยู่ทุกสัปดาห์ ทั้งในรูปของซิงเกิ้ล 7 นิ้ว และอัลบั้มเต็ม ๆ 
Classic IDM : Pole, Kid606. V/VM, Boards Of Canada, Autechre, Aphex Twin, Black Dog และตราแผ่นเสียงอย่าง Skam, Violent Turd, Mille Plateaux, Force Inc, Rephlex และ Fat Cat

สาขาปลีกย่อยของเทคโนยังมีกลุ่ม Stadium Techno ที่สามารถเล่นสดได้ และนิยมทำผลงานเป็นอัลบั้ม อย่าง Future Sound Of London, The Prodigy, Orbital และ Underworld 

ความคิดเห็น