1. เล่นทายปัญหากับเพื่อนๆ
การเล่นทายปัญหาอาจดูเหมือนเป็นเรื่องของเด็กๆ และเสียเวลา แต่จริงๆ แล้วมีผลการวิจัยออกมารองรับว่าการทายปัญหาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลง ... การเล่นเกมทางโทรศัพท์ก็ใช้ได้เช่นกัน เพราะช่วยบริหารสมองได้อีกทางหนึ่ง
2. กินขมิ้นให้บ่อย
ขมิ้นในที่นี้ก็หมายถึงขมิ้นที่อยู่ในอาหารไทยของเรานี่แหละ เชื่อกันว่าขมิ้นมีสารประกอบบางอย่างที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลง
3. เล่นสควอชหรือเต้นรำ
กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะทำให้หัวใจเต้นแรงแล้ว ก็ยังบังคับให้เราต้องใช้สมองไปในเวลาเดียว
4. ดูข่าวจากสำนักข่าวอัล จาซีร่า
จากการศึกษาในปี 2009 พบว่า ผู้ที่ชมข่าวจากอัล จาซีร่า ภาคภาษาอังกฤษ จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่าคนที่ดูข่าวจาก ซีเอ็นเอ็น หรือ บีบีซี ซึ่งการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ก็ย่อมจะทำให้เราฉลาดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
5. โยนโทรศัพท์ทิ้งบ้าง
แม้ปัจจุบันจะเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร แต่การปิดโทรศัพท์หรือปิดอินเตอร์เน็ตในบางช่วง ก็ทำให้เรามีสมาธิกับงานที่ทำมากขึ้น
6. นอนให้เยอะ
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า แม้เราจะหลับไปแล้วแต่สมองของคนเราจะยังคงพัฒนาในด้านความจำต่อไป และการพักผ่อนให้เต็มที่จะช่วยให้เราเรียกเอาความจำเหล่านั้นกลับมาได้ดีขึ้นในภายหลัง
7. หาเวลาไปงานเทศกาลหนังสือ
เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าหนังสือเป็นคลังของความรู้อยู่แล้ว
8. สร้างกล่องความทรงจำขึ้นด้วยตัวเอง
เทคนิคที่จะทำให้เราจำเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น ก็คือการจำเรื่องต่างๆ โดยนำไปเชื่อมโยงกับภาพ เช่น เห็นภาพๆ หนึ่ง ทำให้นึกถึงเรื่องราวหนึ่งขึ้นมาได้
9. เรียนภาษาที่ 2 ที่ 3
การเรียนภาษาที่ 2 หรือที่ 3 จะช่วยให้สมองในส่วนของ Prefrontal cortex ซึ่งส่งผลต่อการใช้เหตุผลใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ-ทำงานได้ดีมากขึ้น
10. กินดาร์กช็อกโกแลต
ดาร์กช็อกโกแลตอาจไม่ได้ช่วยเพิ่มความฉลาดให้เรา แต่มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านสารต้านอนุมูลอิสระและจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด
11. ถักนิตติ้ง
การถักนิตติ้งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการกระบวนการจัดลำดับความคิด
12. ไม่ยิ้มบ้างก็ได้
จากการวิจัยพบว่าการทำหน้าตาสงสัยเป็นการแสดงออกที่ง่ายที่สุดว่าคุณกำลังใช้ความคิดอยู่
13. เล่นเกมที่โหดๆ
หมายถึงการเล่นบ้างเป็นครั้งคราว เพราะการเล่นเกมที่โหดๆ บ้างจะช่วยลดความรู้สึกตึงเครียดจากการทำงานหรือเรื่องต่างๆ ของคุณลงได้
14. ฟอลโลว์ทวิตเตอร์คนดังที่น่าสนใจ
จะช่วยให้คุณได้มุมมองในการดำเนินชีวิตแบบใหม่มาใช้ ยกตัวอย่างเช่น นูเรียล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์และศาสตราจารย์แห่งคณะบัญชีและการเงินของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
15. กินโยเกิร์ต
ในโยเกิร์ตมีโพรไบโอติก ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งก็รวมไปถึงช่วยให้มีความจำดีอีกด้วย
16. โหลดโปรแกรมช่วยจำอย่าง SuperMemo มาใช้
การจำอะไรได้เองก็เป็นเรื่องดี แต่บางทีเราอาจมีเรื่องที่ต้องจดจำมากเกินไป ดังนั้น หากมีโปรแกรมดีๆ ช่วยจดจำตารางงานอีกทางหนึ่ง ก็จะทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
17. ตรวจสอบระบบการทำงานของสมอง
เดเนี่ยล คาห์เนมัน กล่าวเอาไว้ว่า รูปแบบความคิดของเรามี 2 ลักษณะคือ คิดเร็วและเป็นไปแบบอัตโนมัติ กับคิดช้าและต้องใช้ความพยายามมากหน่อย การเรียนรู้การทำงานของสมองจะช่วยให้เราตรวจสอบตัวเองได้ว่า ขณะนั้นระบบความคิดของเราเป็นไปในลักษณะใด
18. ดื่มน้่ำให้มาก
การขาดน้ำจะทำให้สมองทำงานหนักและอาจลดความสามารถในการวางแผนลงไป
19. เล่นดนตรี
การจดจำตัวโน้ต เพื่อเล่นดนตรีช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในด้านความจำและการจัดลำดับความคิด
20. เขียนสิ่งต่างๆด้วยมือ
การพิมพ์อาจจะทำได้สะดวกและรวดเร็วกว่าก็จริง แต่การเขียนจะทำให้สมองได้ทำงานมากกว่า เพราะกลไกของการเขียนมีความซับซ้อนมากกว่าการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
21. ปล่อยให้สมองได้คิดในเรื่องต่างๆบ้าง
การตั้งคำถามกับเรื่องต่างๆ เพื่อให้สมองได้คิดบ้าง เป็นการบริหารสมองอย่างหนึ่ง
22. ดื่มกาแฟ
มีการสำรวจว่าผู้หญิงที่ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้ว จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าน้อยกกว่าผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ 1 แก้วต่อสัปดาห์
23. รู้จักเก็บความรู้สึกพึงพอใจ
มีการศึกษาว่า เด็กที่มีความต้านทานต่อการกินขนมหวานได้นานกว่า จะมีคะแนนสอบที่ดีกว่าเด็กที่หยิบมันขึ้นมากินเลยในทันที
24. เขียนรีวิวเรื่องต่างๆ ลงบล็อก
การลงมือเขียนสิ่งต่างๆ ลงบล็อกส่วนตัว จะทำให้สมองของเราทำงานเป็นระบบโดยอัตโนมัติ เพราะเราต้องเริ่มตั้งแต่การลำดับความคิด การเรียบเรียงสิ่งที่จะเขียน การเลือกภาษามาใช้เขียนและสร้างสรรเรื่องราวต่างๆ ออกมา
25. ออกนอกเมืองบ้าง
การออกไปเปิดหูเปิดตานอกเมือง จะช่วยให้สมองได้รับมือกับสิ่งเร้าที่น่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ถือเป็นการพัฒนาสมองในอีกทางหนึ่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น