วันรัฐธรรมนูญ

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ

วันที่ 10ธันวาคมของทุกปีเป็น วันรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

 

 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ

 

รัฐธรรมนูญของไทยทั้งหมด

รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้

วันรัฐธรรมนูญ
วันรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
  • รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
  • ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
  • รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
  • รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

กิจกรรมในวันรัฐธรรมนูญ

มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน มีการจัดงาน “เด็กไทย รักรัฐสภา” พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

สัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วันรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องหมายที่กำหนดระเบียบ แบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก และเป็นฉบับถาวร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชาวไทย จึงกำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ มาจนถึงทุกวันนี้


ความคิดเห็น